EXAT ประกาศแจ้งแผนการปิดเส้นทาง ทางพิเศษฉลองรัช เพื่อติดตั้ง M-Flow

EXAT ประกาศแจ้งแผนการปิดเส้นทาง ทางพิเศษฉลองรัช เพื่อติดตั้ง M-Flow

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (EXAT) ประกาศแจ้งให้ทราบถึงการปรับแผนการปิดและเบี่ยงการจราจรด่านจตุโชติ ทางพิเศษฉลองรัช เพื่อติดตั้งอุปกรณ์และพัฒนาซอฟแวร์เชื่อมต่อระบบ M-Flow EXAT ทางพิเศษฉลองรัช – (9 ก.พ. 2565) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ปรับปรุงกายภาพหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ เพื่อรองรับระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น Multi-Lane Free Flow (M-Flow) 

ในระยะที่ 1 บนทางพิเศษฉลองรัชที่เชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ของกรมทางหลวง จำนวน 3 ด่าน ได้แก่

1. ด่านฯ สุขาภิบาล 5-1

2. ด่านฯ สุขาภิบาล 5-2

3. ด่านฯ จตุโชติ

ซึ่งปัจจุบันการดำเนินงานมีความก้าวหน้ากว่าแผนงานที่วางไว้

​กทพ. ได้ดำเนินการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้นหรือ M-Flow ระยะที่ 1 บนทางพิเศษฉลองรัช จำนวน 3 ด่าน ได้แก่ ด่านฯ สุขาภิบาล 5-1 ด่านฯ สุขาภิบาล 5-2 และด่านฯ จตุโชติ ตามโครงการปรับปรุงกายภาพหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษเพื่อรองรับระบบ M-Flow

โดยปิดและเบี่ยงการจราจรของช่องเก็บค่าผ่านทางตามแผนงาน เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2565 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดผลกระทบการจราจรบริเวณหน้าด่าน กทพ. จึงได้เร่งรัดผู้รับจ้างจนดำเนินงานได้เร็วกว่าแผนงานที่กำหนดทุกด่านฯ โดยด่านฯ สุขาภิบาล 5-1 ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2565 ส่วนด่านฯ จตุโชติ กทพ. ได้ปรับแผนการปิดและเบี่ยงการจราจรของช่องเก็บค่าผ่านทางเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการทางพิเศษมากขึ้น 

ราชกิจจาฯ ประกาศ ปลดล็อกกัญชา มีผลบังคับอีก 120 วัน

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ว่าด้วยเรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ปลดล็อกกัญชา และ กัญชง มีผลใช้อีก 120 วันนับจากวันประกาศ

เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้โพสต์ข้อความประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ที่ลงนามโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ความว่า

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยาเสพติดให้โทษที่ระบุชื่อดังต่อไปนี้ เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด

(1) พืชฝิ่น พืชซึ่งมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Papaver somniferum L. และ Papaver bracteatum Lindl. หรือที่มีชื่ออื่นในสกุลเดียวกันที่ให้ฝิ่นหรือแอลคาลอยด์ของฝิ่น

(2) เห็ดขี้ควายหรือพืชเห็ดขี้ควาย ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psilocybe cubensis (Earle) Singer หรือที่มีชื่ออื่นในสกุลเดียวกันที่ให้สาร psilocybin หรือ psilocin

(3) สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชง ซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis ยกเว้นสารสกัดดังต่อไปนี้

ก) สารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชงที่ปลูกภายในประเทศ

(ข) สารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชาหรือกัญชง ที่ได้จากการปลูกภายในประเทศ

ข้อ 2 กรณียาเสพติดให้โทษตามข้อ 1 ที่เป็นสารควบคุมคุณภาพในการตรวจวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพของการตรวจสารเสพติดในร่างกาย ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ และต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ของเครื่องมือแพทย์นั้น ให้ยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5

ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม สารสกัดจากกัญชงและกัญชา ที่ปริมาณสารเคลิ้มหรือปริมาณสาร THC เกินร้อยละ 0.2 จะถูกจัดให้เป็นสารเสพติดให้โทษ ดังนั้นผู้ใช้ยังไม่สามารถนำมาใช้เพื่อสันทนาการได้ ทั้งนี้ กัญชาและกัญชง ที่ไม่ใช่ “สารสกัด” จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกกฎหมาย